วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No.6 | 15 Septembert 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.6


การทำงานของสมอง



            การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของสมองซีกซ้ายของร่างกาย โดยสมองซีกขวาจะทำงานในในหน้าที่ตามแนวทางที่สร้างสรรค์ จินตนาการทางด้านศิลปะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ รวมไปถึงการรับรู้สัญชาตญาณและอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสมองซีกขวาจะสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานพร้อมกันได้ในทันที ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกขวามักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. ศิลปะแขนงต่าง ๆ
2. งานที่เกี่ยวกับอารมณ์ขัน
3. การใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไม่สลับซับซ้อน
4. การศึกษาความคิดในเชิงปรัชญา
5. การจัดสวนหรือปรับแต่งต้นไม้ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
6. ความสารถในงานฝีมือ และงานประดิษฐ์
7. งานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ จิตรกร การออกแบบ งานประเภทครีเอทีฟโฆษณา
8. รักการอ่าน การเขียนหนังสือ มีความสามารถแต่งแต้มจินตนาการลงในงานเขียนได้เป็นอย่างดี
9. ประเภทศิลปิน ดารา นักแสดง ซึ่งที่มักต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งทางร่างกายและคำพูด
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกขวา คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย หรือสามารถทำงานด้วยมือซ้ายได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกขวาเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนขาดระเบียบ การใช้ชีวิตไม่ค่อยมีแบบแผน ขั้นตอน สื่อสารกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ
สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของสมองซีกขวาของร่างกาย โดยสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออก และทำหน้าที่ในการคิดอย่างมีสามัญสำนึก เป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ตีความสัญลักษณ์ในภาษา อักษรและตัวเลขได้ดี ซึ่งใน
สมองซีกซ้ายนั้นสามารถสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ทีละอย่าง ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกซ้ายมักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. การพูดโน้มน้าวจิตใจคน
2. การตีความหมายของภาษา
3. การวิเคราะห์เวลาและความเสี่ยง
4. อาชีพที่ต้องใช้การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลข
5. การจัดหมวดหมู่ การแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ
6. ผู้บริหารที่ต้องจัดการวงแผนอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอน
7. งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
8. นักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนและขา
9. อาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ศัลยกรรมแพทย์ วิศวกร
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกซ้าย คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือขวา หรือสามารถทำงานด้วยมือขวาได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกซ้ายเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนที่มีความเครียดสูงอยู่ในตัว เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยปกติคนเราต้องใช้สมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย ส่วนจะใช้ซีกใดมากหรือน้อยกว่ากันจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ถูกกำหนดโดยบทเรียน สาขา โปรแกรมการเรียน ภาระหน้าที่การงาน อาชีพ วิถีชีวิต และการนันทนาการ เพราะการทำงานของสมองนั้นโดยปกติจะต้องปรับใช้ร่วมกันทั้งสองซีกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่อาจใช้ซีกใดซีกหนึ่งเพียงซีกเดียว โดยละทิ้งไม่ใช้สมองอีกซีกหนึ่ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถทำงานจากการสั่งการของสมองเพียงซีกเดียวได้
การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย สรุปได้ว่า ความสามารถของสมองทั้งสองซีก เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนรู้ กระบวนการที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาสมองทั้งสองซีกของผู้เรียนเป็นหลัก ส่วนความต้องการส่งเสริมหรือปรับเปลี่ยนให้พัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียนคนนั้น ๆ การจัดการเรียนรู้เป็นการพัฒนาศักยภาพทางสมองให้เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถช่วยให้ผู้เรียน ครู หรือผู้ปกครองค้นพบความสามรถพิเศษสุด และความพิเศษอื่น ๆ ในตัวของผู้เรียนได้ การจัดการเรียนรู้ระดับคุณภาพ จะส่งผลดีต่อการพัฒนาทางด้านสมองของผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด ปรากฏให้เห็นได้จริง ดังนั้นผู้จัดการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย จะต้องมีความรู้และ ทักษะเข้าใจด้านกระบวนการของสมองทั้งสองซีกที่เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ อย่างสอดคล้อง


หลักการและแนวคิดการพัฒนาการเด็ก

1. กีเซลล์ (Gesell )
           กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก 
เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำ หรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการ
จัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและ
กล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไห;ประกอบ กัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งาน ของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย
                แนวคิด :  เด็กจะมีความพร้อมที่จะเรียนต่อเมื่อเด็กพร้อม ซึ่งผู้ใหญ่ไม่สามารถที่จะเร่งเด็กให้พร้อมได้ ความพร้อมในการมาโรงเรียนขึ้นกับวุฒิภาวะซึ่งถือเป็นสภาวะที่เด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะสามารถบรรลุ งานนั้นได้ในช่วงวัยนั้น


2. ฟรอยด์ (Freud)
           กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ
                  1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
                  2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)
           สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido” เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
           - ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
           - ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
           - และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)
ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
           1. ขั้นปาก (Oral Stage)
           2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
           3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
          4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
           5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
           แนวคิด : พัฒนาการเริ่มแรกจากการสำรวจโดยใช้ปากวัยทารก การให้ความสำคัญกับเรื่องการขับถ่าย ในวัยเถาะแตะ และการแบ่งแยกเพศชัดเจนในช่วงวัยอนุบาลมีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพ
ขั้นพื้นฐาน (Psychosexual Stage) จะเป็นตัวก่อร่างพื้นฐานในการเข้าใจตนเอง (Self-concept)
ความรู้สึกดี ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และ บุคลิกภาพในภายหลัง


3. อีริค อีริคสัน (Erik Erickson)
           แนวคิดแต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ 
           ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ 
           ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย 
           ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด


4. เพียเจต์ (Piaget)
           ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม


5. บรุนเนอร์ (Brunner)
           บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
            แนวคิด 
           1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
           2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
          3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
           4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
           5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                  1.) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาท  สัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                  2.) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
                  3.) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
           6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
           7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


6. แพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี่ ( Maria Montessori)
           มีการพัฒนามาจากพื้นฐานที่แพทย์หญิง มาเรียสังเกตว่าเด็กๆเรียนรู้ "อย่างเป็นธรรมชาติ" ด้วยตนเองและไม่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ แต่ประการใดเด็กๆ สามารถสอนกันเองอย่างเป็นธรรมชาติ
           แนวคิด
           เด็กซึมซับวัฒนธรรม ทั้งจากการรับฟังและจากการมีประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยตรง การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กมีการพัฒนาแบบเป็นคู่ขนานกัน
ขาทำงานสำหรับการเคลื่อนที่และทรงตัวแต่มือจะเปลี่ยนเป็นการทำงานเพื่อสื่อความคิดความรู้สึก
และปัญญา จากการกำไปสู่การที่นิ้วทั้งสี่เป็นอิสระต่อกัน “มือคือ เส้นทางไปสู่การเรียนรู้
หรือ มือคือครูที่สำคัญ”


7. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
           เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้น เพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขาเป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนงออกไปอย่างมากมาย
           แนวคิด การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจากการทำจริงในทุกกสถานการณ์จริง


8. โจฮัน ไฮน์ริช เปสตาลอสซี (Johann Heinrich Pestalozzi)
           ปสตาลอซซี่ได้รับอิทธิพลด้านความคิด
           แนวคิดเชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้น ความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย
สติปัญญา และจิตใจ มีแนวคิดจากรุสโซตรงที่มุ่งเน้นการสอนเด็กเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนเด็กเป็นรายบุคคล นอกจากนั้น เปสตาลอซซี่ยังเป็นต้นความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควร ถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาและประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
รอบตนเอง
เปสตาลอสซี่ได้เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่
และลูก เช่น “เกอร์ทรูดสอนลูกอย่างไร” (How Gertrude Teaches Her Children) และ “หนังสือสำหรับแม่”(Books for Mothers) และได้ออกแบบหลักสูตรชื่อ“ปาปา”(Papa) สำหรับลูกของตน ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก


ความหมายของวิทยาศาสตร์
           วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน การศึกษาความ เป็นไปทางธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ แบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การ ทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
           1. การเปลี่ยนแปลง (change) ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นครูควรให้เด็กเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้้าหนัก การเคลื่อนต้าแหน่ง น้้าขึ้นน้้าลง และสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
           2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ สิ่งต่างๆ เหล่านั้น โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
           3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึง ควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ รอบตัวเอง เช่น ตุ๊กแก คางคก งู สัตว์น้้า พืช จิ้งจก จะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ ฯลฯ สิ่งไหนที่ปรับตัวไม่ได้ก็ สูญพันธ์ไป
           4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity) ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย แมลงกับดอกไม้ ดังนั้น ครูจึงควรให้ เด็กเห็นธรรมชาติ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้
           5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและ ปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน เช่น ปลาอยู่ใน น้้า นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก ฯลฯ เด็กควรมี ความเข้าใจถึงธรรมชาติ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 
           1. ความอยากรู้อยากเห็น 
           2. ความเพียรพยายาม 
           3. ความมีเหตุผล 
           4. ความซื่อสัตย์ 
           5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
           6. ความใจกว้าง

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย
            1. ช่วยพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย 
            2. ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 
            3. ช่วยให้เด็กประสบกับความส าเร็จในการเรียน 
            4. ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็น รายบุคคล
            5. ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
            6. ช่วยให้เด็กรู้จักปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม 
            7. ช่วยให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย 
           1. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
           2. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในชีวิต
           3. พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
           4. เพิ่มพูนทักษะการสังเกต
           5. เด็กได้มีโอกาสใช้เครื่องมือและวัสดุที่เคยพบเห็น
           6. รู้จักการแก้ปัญหาโดยครูเป็นผู้ช่วย 
           7. เพิ่มพูนความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น 
           8. พัฒนาประสาทสัมผัส ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม 
           9. พัฒนาด้านภาษาจากการซักถามและตอบค้าถามท้า ให้เพิ่มพูนค้าศัพท์

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสืบเสาะหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ 
           1. การสำรวจตรวจสอบ (Scientific investigation) 
           2. การสังเกต (Observation) 
           3. การสำรวจ (Exploration) 
           4. การทดลอง (Experimentation) 
           5. การสืบค้นข้อมูล (Search)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills) 
           1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง รวมกัน เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูล
           2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึงการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จาก การสังเกตอย่างมีเหตุผล
           3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวกหรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ใน ปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์
           4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนค้าตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลอง
           5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้ เครื่องมือ ท้าการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมา เป็นค่าที่แน่นอน
           6. ทักษะการค านวณ (Using Numbers) หมายถึง การนับ จ้านวนของวัตถุ และการน้าค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
           7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างต้าแหน่งที่อยู่ของวัตถุ
           8. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communicating) หมายถึง การน้าข้อมูลมาจัดกระท้าเสียใหม่ และน้าเสนอ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ


ทักษะ (Skill)
      - ทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะ
      - ทักษะในการตอบคำถาม

ประยุกต์ใช้ (Application)
      สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวิชานี้ ไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

เทคนิคการสอน (Technical Education)
      - การตอบคำถามและตั้งคำถาม
      - ทักษะในการนำเสนองาน
      - สอนหลักกการที่ถูกวิธีและการนำไปประยุกต์ใช้

การประเมิน (Evaluation)
      - ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก และแต่งกายสุขภาพ
      - เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และช่วยเหลือกันระหว่างเรียนได้ดี
      - ครูผู้สอน เข้าสอนตรงเวลา สอนตรงกับเนื้อหาที่เรียน ชี้แจงนักศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละเนื้อหาจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น