วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัยเรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดฝึกทักษะ

เรื่อง การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ


ปริญญานิพนธ์ ของ เอราวรรณ ศรีจักร


 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ



    การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุjงหมายเพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทันทีที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชดแบบฝึกทักษะ กลุ่มัตวอย่างที่ใช้ ในการศึกษา
เป็นเด็กนักเรียน ชาย - หญิงอายุ 4 - 5 ปี กาลังศึกษาอย่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษาที่
2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทร เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร จํานวน 15 คน เพื่อให้เด็กได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที
    เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ และแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความ
เชื่อมั่นทั้งฉบบเท่าากับ .77 ใช้แบบแผนการวิจัย แบบ One - Group Pretest - Posttest Design และ
วิเคราะหข้อมูลโดยใช้สถติ t - test Dependent

 ผลการศกษาพบว่า
การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และจําแนกรายทักษะมีค่าเฉลยคะแนนสูงขึ้นทุกทักษะ
ทักษะ อยในระดับดีมาก 3 ทักษะ คือ ทักษะการสงเกต ทักษะการสื่อสาร ทักษะการลงความเห็น
และอยู่ในระดบดี 1 ทักษะ คือ ทักษะการจําแนกประเภท เมื่อเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการ

ทดลอง พบ่าว แตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิตที่ระดับ .01

คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

ตัวอย่างแผนการสอน



คู่มือการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์

หลักการและเหตุผล

          การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่กําหนดหัวเรื่องการเรียนตามชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการ
เรียนรู้ (Brain - Based Learning) ซึ่งวิธีการสอนเน้นผ้เรียนเป็นสําคญั ผูู้เรียนกระทำด้วยความคิด
การแสดงออกอย่างมีเหตุมีผล ตามมโนทศน์ของเรื่องทเรี่ยน และทําชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตรื
ทุกครั้งในการเรียนรโดยมีเจตนาเพื่อใช้ในการทบทวน ฝึกการขีดเขยนจากการสังเกต การจําแนก
ประเภท การสื่อสาร และการลงความเห็น ซึ่งตรงกับการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
ของเด็กปฐมวยและเป็นการส่งเสริมการทางานของสมองซีกซ้าย และซีกขวาของผู้เรียนให้ทำงาน
สัมพันธ์กันอย่างมีคุณภาพ ซึ่งส่งผลทําให้เป็นผู้มีความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์มีทักษะใน
การแก้ปัญหาต่างๆ สามารถพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และผู้อื่นได้ดีทั้งนี้
ครูมีบทบาทในการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่อบอุุ่น เพลิดเพลิน
แสดงการยอมรับในความสามารถและความแตกต่างของผู้เรียน พร้อมชี้แนะ และเสริมข้อความรู้
ที่ผู้เรียนค้นพบจากชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์และรู้ด้วยตนเอง เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ
วิทยาศาสตร์ให้เกิดกับเด็กปฐมวัย

จุดมุ่งหมาย

เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

หลักการจัดกิจกรรม

1. กิจกรรมนี้จัดในช่วงกิจกรรมเสริมประสบการณ์
 2. การปฏิบัตกิจกรรมดําเนินตามลําดับขนตอนดังนี้

 2.1 ขั้นนํา

เตรียมเด็กนักเรียนให้พร้อมเรียนโดยจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น การสนทนา เล่านิทาน ร้องเพลง ปริศนาคําทาย เพื่อนําเข้าสู่บทเรียน ครูบอกจุดมุ่งหมายการเรียน

 2.2 ขั้นสอน แบ่งเป็น 2 ตอน

ตอนที่ 1 ครูดาเนินกิจกรรมการสอน โดยใช้กระบวนการจัดกิจกรรมที่เน้นการกระทําด้วยความคิด การแสดงออก เรียนรูู้แบบรวมมือ เรียนรู้ด้วยการค้นพบ และทราบถึงความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของตนเอง ซึ่งในการเรียนรู้แต่ละเรื่องเด็กจะได้เข้าร่วมกิจกรรม
การนําเสนอผลงาน การประเมินการเรียนรู้ร่วมกับครูโดยครูเป็นผู้ประเมินหรือตั้งคำถามให้เด็ก
ประเมินตนเองและเพื่อน
ตอนที่ 2 ทําชุดแบบฝึกทักษะตามมโนทศน์ของเรื่องที่เรียน

 2.3 ขั้นสรุป

เด็กและครูร่วมกันสรุปมโนทัศน์เรื่องที่เรียนหรือนําเสนอผลงานในแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ตอบคําถาม สาธิต หรือเสนอผลงาน

บทบาทครู

1. การสร้างแผนกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

 1.1 ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้(Brain - Based Learning)
 1.2 ศึกษาหลักสูตรตร พุทธศักราช 2546 และแผนการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการ วิทยาศาสตร์
 1.3 กําหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียนในแต่ละหน้าของชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
 1.4 เขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

2. การนําแผนไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

 2.1 ศึกษาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรูู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะให้เข้าใจอย่างชัดเจนก่อนลงมือจัดกิจกรรม
 2.2 จัดเตรียมสื่ออุปกรณ์ประกอบกิจกรรมให้พร้อม
 2.3 เตรียมความพร้อมของผู้เรียนด้วยกิจกรรมที่ครูเลือกสรรเพื่อนําเข้าสู่เรื่องที่เรียน
 2.4 บอกจุดประสงค์การเรียนรู้และวิธีการสอน
 2.5 ดําเนินกิจกรรมการสอนตามแผนการสอน ซึ่งขณะดําเนินกิจกรรมครูต้องประเมินการเรียนการสอนตลอดเวลาว่ากิจกรรมนั้นกระตุ้นให้คิดหรือไม่ ผู้เรียนได้แสดงออกจริงไหม เรียนรู้วิทยาศาสตร์หรือไม่ เด็กเรียนอะไรเพิ่มเติม
 2.6 ผูุ้เรียนนําเสนอผลงาน โดยครูวิเคราะห์ผลงานและป้อนข้อมูลกลับให้ผู้เรียน ข้อผิดข้อถูกและข้อความรู้เพิ่มเติม โดยบรรยากาศการเรียนต้องมีความเป็นกันเอง หลีกเลี่ยงการพูดหรือการกระทําที่ทําให้ผู้เรียนเกิดความคับข้องใจหรืออาย ครูต้องตระหนักในความแตกต่างของผู้เรียน พร้อมแสดงการยอมรับช่วยชี้แนะและเสริมข้อความรู้ที่ทําให้ผู้เรียนค้นพบและเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด
 2.7 จูงใจให้ผู้เรียนสนใจกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ต้องทําให้ผู้เรียนเห็นว่าครูใส่ใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนเสมอ พร้อมชี้แนะสิ่งที่นําไปสู่การเรียนรตามจุดประสงค์
 2.8 ใกลชิดกับผู้เรียน ติดตามการเรียนรู้เข้าร่วมในการทํางานกับผู้เรียนด้วยการแจกอุปกรณ์ด้วยตนเอง 2.9 สรุปมโนทัศน์เรื่องที่เรียน
 2.10 ให้เด็กทําแบบฝึกทกษะตามมโนทัศน์ของเรื่องที่เรียน
 2.11 เริ่มการสอนตรงตามเวลาและมีการยืดหยุ่นตามความเหมาะสมของแต่ละกิจกรรม


บทบาทเด็ก

1. ปฏิบัติการคิดและการแสดงออกด้วยตนเองและร่วมกับกลุ่มในการทํากิจกรรมทุกครั้ง
2. ทําแบบฝึกทักษะ
3. นําเสนอผลงาน
4. ประเมินการเรียนรูู้ร่วมกบครู




วันเสาร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No.14 | 17 November 2015 (13.30-17.30 pm.) Group.102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.14


บันทึกการเรียน

1. บัวลอย







         ขั้นตอนการทำ

               ฐานที่ 1 
                   นำแป้งและสีผสมอาหาร ผสมให้เข้ากัน



               ฐานที่ 2
                   ปั้นแป้งให้เป็นลูกกลมๆเล็กๆ



               ฐานที่ 3
                   นำแป้งที่เราปั้นไว้ค่อยๆเทใส่ลงไปในน้ำที่เดือด จากนั้นสังเกต เมื่อเม็ดบัวลอย ลอยแล้วให้ตักขึ้นมาราดน้ำกะทิที่เตรียมไว้ เพื่อพร้อมรับประทาน




2.บลูเบอร์รี่ชีสพาย 



          ขั้นตออนการทำ
     
                ฐานที่ 1
                     นำโอริโอ้มาบดผสมเนยที่ละลายไว้เล็กน้อย คลุกเคล้าให้เข้ากัน และอัดให้เข้ารูป
               ฐานที่ 2
                    นำครีมชีส โยเกิร์ต น้ำมะนาว และน้ำตาลไอซ์ซิ่ง มาผสม และค้นให้เข้ากัน
               ฐานที่ 3
                    นำครีมชีสที่คนเข้ากะันแล้วมาราดลงไปบนโอริโอ้ที่อัดรูปไว้แล้ว แล้วราดด้วยแยมบลูเบอร์รี่
               ฐานที่ 4
                    ตกแต่งน่าด้วยช็อกชิฟและเจลลี่ตามใจชอบ

3. ไอศครีม

          อุปกรณ์

              - เกลือ
              - น้ำแข็ง
              - นมจืด
              - นมข้นหวาน
              - วิปปิ้งครีม
              - ท๊อปปี้ต่างๆ
              - ถุงซิน ใบใหญ่ 1 ใบ ใบเล็ก 1 ใบ
              - ตะกร้อตี
              - ชามสำหรับผสม




          ขั้นตอนการทำ

                 1. เพื่อนแนะนำวัตถุดิบ อุปกรณ์ และวิธีการทำ



                 2. ผสมวัตถุดิบต่างๆ



                 3. เทส่วนผสมที่คนจนเข้ากันแล้วลงไปในถุงซินใบเล็ก



                 4. เอาน้ำแข็ง และเกลือเล็กน้อยใส่ลงไปในถุงซินใบใหญ่ จากนั้นก็นำถุงซินใบเล็กที่มีส่วนผสมอยู่ด้านในถุงใส่เข้าไปในถุงซินใบใหญ่ และปิดปากถุง



                 5. เขย่าถุงซินจนส่วนผสมแข็งตัวเป็นไอศรครีม



                 6.ตักออกจากถุงและตกแต่งไอศครีมให้สวยงามตามใจชอบ พร้อมรับประทาน



                     

Diary No.13 | 10 Novamber 2015 (13.30-17.30 pm.) Group.102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.13


บันทึกการเรียน


ทำกิจกรรม ทำ Cooking

  1.  TAGOYAKI RICE (ข้าวทาโกยากิ)

                                               

       วัตถุดิบ
            - ข้าวสวย
            - ไข่ไก่
            - ปูอัด
            - สาหร่าย
            - ซอลปรุงรส
            - มายองเนส
            - เนย
            - ซอลทาโกยากิ


           
       อุปกรณ์
            - เตาทาโกยากิ
            - ตะเกียบ
            - ถ้วย
            - ช้อน
            - หม้อหุงข้าว
            - ทัพพี



       ขั้นตอนการทำ
            ฐานที่ 1 
                ตักไข่ใส่ในถ้วย จากนั้นตักข้าวสวยใส่ลงไป 3 ทัพพี แล้วคนให้เข้ากัน


            ฐานที่ 2
                 ปรุงรส โดยใส่ซอลปรุงรส และใส่ สาหร่าย ปูอัด ตามใจชอบ


            ฐานที่ 3
                 นำเนยมาทาที่หลุมเตาทาโกยากิ จากนั้นนำส่วนผสมที่ปรุงไว้มาเทลงไปในหลุมเตาทาโกยากิ จากนั้นพลิกกลับด้านของส่วนผสมที่เทลงไป ลงจนสุกและตักใส่จาน


             ฐานที่ 4 
                  นำทาโกยากิมาราดด้วยซอลทาโกยากิ มายองเนส และสาหรา่ย




2. WAFFLE (วาฟเฟิล)



       วัตถุดิบ
            - แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป
            - ไข่ไก่
            - ลูกเกด
            - ซอลช็อกโกแลต
            - ซอลสตรอเบอรี่        
            - นม
            - น้ำเปล่า
            - เนย
            - กลิ่นวลิลา                        
            - วิปปิ้งครีม
            - เม็ดน้ำตาลครบสี




       อุปกรณ์
            - เตาวาฟเฟิล
            - ตะกร้อตีแป้ง
            - ถ้วย
            - จาน (สำหรับใส่วาฟเฟิล)


       ขั้นตอนการทำ
             ฐานที่ 1
                    นำแป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป มาผสมไข่ไก่ น้ำ กลิ่นวลิลา และนม ในถ้วยที่เตรียมไว้ จากนั้นใช้ตะกร้อตีแป้ง ตีให้เข้ากัน



             ฐานที่ 2
                    ทาเนยลงบนเตาวาฟเฟิล และเทส่วนผสมที่ตีจนเข้ากันแล้วลงไปในเตาวาฟเฟิล โรยด้วยลูกเกดอีกทีแล้วปิดเตา




             ฐานที่ 3
                    เมื่อวาฟเฟิลสุกแล้ว ก็นำขึ้นจากเตา



             ฐานที่ 4
                    ตกแต่งวาฟเฟิลของตนเองตามใจต้องการ


Diary No.12 | 3 November 2015 (13.30-17.30 pm.) Group.102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.12


บันทึกการเรียน

                อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ ถึง ข้อบกพร่อง วัตถุประสงค์ของการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ดังนี้

                แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ตอ้งทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้าง เป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใชสื่ออุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับ เนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนยอ่ยๆ ให้สอดคล้องกัวัตถุประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผเู้รียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัย หนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกติ

                ความสำคัญ ของแผนการจัดการเรียนรู้ การวางแผนการสอน เป็นงานสำคัญของครูผู้สอน การสอนจะประสบผลสำเร็จด้วยดีหรือไม่มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการวางแผนการสอนเป็นสำคัญ ประการหนึ่งถ้าผู้อนมีการวางแผนการสอนที่ดี ก็เท่ากับ บรรลุจุดหมายปลายทางไปแล้วครึ่งหนึ่งการวางแผนการสอนจึงมีความสำคัญหลายประการ ดังนี้

               ประโยชน์ของแผนการสอน 
               1. ทำใหเ้กิดการวางแผนวิธีสอนวิธีเรียนที่มีความหมายยิ่งขึ้น เพราะเป็นการจดัทำอย่างมีหลักการที่ถูกต้อง 
               2. ช่วยใหค้รูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเอง ทำใหเ้กิดความสะดวกในการจดัการเรียนการสอน ทำให้สอนได้ครบถ้วนตรงตามหลักสูตร และสอนได้ทันเวลา 
               3.เป็นผลงานวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตวัอย่างได้ 
               4. ช่วยให้ความสะดวกแก่ครูผู้มาสอนแทนในกรณีที่ผู้สอนไม่สามารถเข้าสอนได้ ถ้าครูได้ทำ แผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้

              องค์ประกอบหลกัของแผนการสอนหรือแผนการจัดการเรียนรู้

              1. จุดประสงค์การเรียนรู้(Objective) คือ สิ่งที่ต้องการใหเ้กิดขึ้นกับผู้เรียน 
                      1.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางสมอง (Head) ความรู้ใน                              เนื้อหาและทฤษฎี 
                      1.2 ทักษะพิสัย (Skill) คือ จุดประสงค์ที่เน้นความสามารถทางปฏิบัติ (Hand) 
                      1.3 จิตพิสัย (Affective) คือ จุดประสงค์ที่เน้นคุณธรรม และจิตใจ (Heart)

              2. สาระการเรียนรู้ คือ สาระที่เราจะทำการสอนเด็ก ให้เด็กได้เรียนรู้และประสบการณ์สำคัญเป็นสิ่งที่เด็กได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน ของเด็กปฐมวัย
 
              3. กิจกรรมการเรียนรู้ คือ เป็นรูปแบบของการสอนที่มีขั้นนำ  ขั้นสอน ขั้นสรุป

              4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในการเรียนการสอนของแต่ละครั้ง

              5. การวัดและการประเมิน คือ การตรวจสอบว่าผู้เรียนมีพฤติกรรม หรือลักษณะพึงประสงค์ ตามจุดประสงค์การเรียนรู้มากน้อยเพียงใด
 
              6. บรูณาการ คือ สามารถนำไปบรูณาการใช้งานกับวิชาอื่นและการจัดการเรียนรู้ในครั้งต่อไปได้


บรรยากาศภายในห้องเรียน (Classroom Atmosphere)
       - ห้องเรียนไม่อึดอัด แต่ไม่ค่อยสะดวกต่อกรเรียนการสอน



ประเมินตัวเอง (Self - Assessment)

        - ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างเรียน


ประเมินเพื่อน (Friend - Assessment)

         - เพื่อนทุกๆคนตั้งใจเรียน และจดบันทึกระหว่างเรียนอยู่เสมอ และช่วยกันตอบคำถามระหว่างเรียน



ประเมินครู (Teacher - Assessment)
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนตรงเนื้อหาหลักสูตร แต่งกายสุขภาพ ใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย และมีการตั้งคำถาม ถามจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจจริงๆ


Diary No.11 | 27 October 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.11


บันทึกการเรียน


กิจกรรมดอกไม้ลอยน้ำ

         - กระดาษเป็นรูปดอกไม้ จากนั้นให้ระบายสีตามใจชอบ และพับกระดาษไปไว้ตรงกลางด้านบน และนำไปลอยในถาดที่มีน้ำ
         - เมื่อนำดอกไม้ไปลอยน้ำ ดอกไม้ก็จะค่อยๆบานออกทีละนิดๆ

สรุป
        - หลักการที่ทำให้ดอกไม้บานได้ เนื่องจากกระดาษดูดซึมน้ำ


กิจกรรมรูไหนไกลกว่า

            - นำน้ำใส่ขวดแล้วนำสก๊อตเทปปิดรูทั้ง 3 รู ไว้
            - ดึงสก๊อตเทปออก และนำเหรียญไปวางไว้ในจุดที่น้ำพุ่งออกมาจากขวด

สรุป
            - จากผลการทดลองพบว่า รูข้างล่างน้ำพุ่งแรงที่สุด


กิจกรรมการทดลอง น้ำพุ

            - นำน้ำใส่ ใส่ต่างระดับกัน และวางไว้ให้ต่ำกว่าระดับน้ำที่วางไว้จากอันแรกที่น้ำพุ่งสูงมากกว่าเดิม

สรุป
            - น้ำไหลจากที่สูงลงที่ต่ำเสมอ


กิจกรรมการเป่าเชือกจากหลอด

         - นำเชือกสอดเข้าใฃไปในหลอดและเป่า
         - ขณะเป่าเชือกไหมพรมก็จะเคลื่อนที่ออกจากหลอด

กิจกรรมการทดลองแรงดันอากาศจากอากาศ (ทฤษฎีของลูกยาง)

            - เมื่อโยนวัตถุขึ้นด้านบน อากาศจะเข้ามาพยุงใต้ปีกกระดาษ จึงสามารถทำให้วัตถุลอยอยู่กลางอากาศได้


กิจกรรมเทียนไขดูดน้ำ

            - เมื่อจุดเทียน แลัวนำแก้วมาคลอบเทียนที่จุดไว้ ไฟจากเทียนที่จุดจะดูดน้ำเข้ามาในแก้วทั้งหมด จากนั้นน้ำก็จะเข้ามาแทนที่อากาศ เทียนก็จะดับลง


กิจกรรมการสะท้อนแสงของกระจก

    - นำกระจกสองแผ่นมาต่อกันและนำรูปภาพมาวางไว้ตรงกลางระหว่างกระจกสองบาม จะพบว่าจะมีรูปภาพอยู่รอบๆ (360องศา) เพราะกระจกเกิดการสะท้อนแสงเงา

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No.9| 13 October 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.9


บันการเรียน


          - นำเสนองานวิจัย
                         - เรื่อง การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                         - การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยได้รับกาจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

          - นำเสนอโทรทัศน์ครู
                         - เรื่อง แรงตึงผิว
                         - เรื่อง สอนเด็กอย่างไรให้มีจิตวิทยาศาสตร์
                         - เรื่อง จุดประกายนักวิทยาศาสตร์
          - นำเสนอของเล่น
                        - เรื่องเสียง กลองแขก
                        - เรื่อง พลังงาน คานหนังสติ๊ก  
                        - เรื่องเสียง ปี่กระป๋อง


ทักษะ (Skill)
           - ทักษะการนำเสนองาน
           - การคิดวิเคราะห์
           
การประยุกต์ใช้ (Application)
             สามารถนำความรู้ที่เพื่อนนำเสนอมานั้น ไปใช้ประโยชน์ในการประดิษฐ์ของเล่นต่อไป รู้ถึงเรื่องแรงตึงผิว และงานวิจัยต่างๆ

เทคนิคการสอน (Technical Education)
             - สอนให้รู้จักความคิดร่วมยอด


การประเมิน (Evaluation)
                - เพื่อนและตัวข้าพเจ้า ตั้งใจเรียนดี แต่งกายสุขภาพเรียบร้อย มีการจดบันทึกระหว่างการเรียน และช่วยกันตอบคำถามภายในชั้นเรียน
                - ครูผู้สอน เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุขภาพ ใช้คำพูดที่สามารถทำความเข้าใจได้ง่าย ใช้คำถามทดสอบความรู้ความเข้าใจนักศึกษาได้ดี

Diary No.10 | 20 October 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.10


            - เลขที่ 11 นำเสนอบทความ เรื่อง ทำอาหาร กิจจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ในเด็กปฐมวัย
            - เลขที่ 12 นำเสนอบทความ เรื่อง เรียนรู้อยู่รอด


            - นำเสนอของเล่น
                           - ของเล่นที่เด็กทำได้เอง : เรือน้อยลอยไป

 

                           - ของเล่นมุมประสบการณ์ : จับคู่เสียง


                           - ของเล่นทดลอง : จรวดลูกโป่ง



                           - ของเล่นทดลอง : ผีเสื้อ

 

                           - ของเล่นทดลอง : แรงตึงผิว



                                

Diary No.8 | 06 October 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.8


ความรู้ 
            - นำเสนอวิจัย เรื่อง การศึกษาผลของรูปแบบจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีทักษะต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยของ คุณ ชุยา พยุวงศ์

            - นำเสนอของเล่น
                           -  เพื่อนๆ ออกมานำเสนอของเล่นที่ตนประดิษฐ์มา โดยนำเสนอจากพาวเวอร์พ้อยและสื่อประดิษฐ์ของเล่นที่ตนทำมา

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No.7 | 22 Septembert 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.7


ความรู้

           เรียนเกี่ยวกับธรรมชาติรอบตัว สิ่งมีชีวิตการดำรงชีวิตรวมกัน การจัดกิจกรรมบรูณาการ จัดโดยการเอาเปลือกไข่มาทำเป็นโมเสก เล่านิทานเกี่ยวกับสัตว์ อีกทั้งการทำกิจกรรมนี้สามารถเชื่อมโยงเข้ากับวิทยาศาสตร์ได้

พลังงานลม
           เป็นพลังงานธรรมชาติที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิ 2 ที่ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ใช้แล้วไม่มีวันหมดสิ้นไปจากโลกได้รับความสนใจนำมาพัฒนาให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกัน กังหันลมก็เป็นอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถนำพลังงานลมมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้โดยเฉพาะในการผลิตกระแสไฟฟ้า และในการสูบน้ำซึ่งได้ใช้งานกันมาแล้วอย่างแพร่หลายพลังงานลมเกิดจากพลังงานจากดวงอาทิตย์ตกกระทบโลกทำให้อากาศร้อน และลอยตัวสูงขึ้นอากาศจากบริเวณอื่นซึ่งเย็นและหนาแน่นมากกว่าจึงเข้ามาแทนที่การเคลื่อนที่ของอากาศเหล่านี้เป็นสาเหตุให้เกิดลมและมีอิทธิพลต่อสภาพลมฟ้าอากาศในบางพื้นที่ของประเทศไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวฝั่งทะเลอันดามันและด้านทะเลจีน(อ่าวไทย)มีพลังงานลมที่อาจนำมาใช้ประโยชน์ในลักษณะพลังงานกล (กังหันสูบน้ำกังหันผลิตไฟฟ้า) ศักยภาพของพลังงานลมที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สำหรับประเทศไทยมีความเร็วอยู่ระหว่าง 3 - 5 เมตรต่อวินาที และความเข้มพลังงานลมที่ประเมินไว้ได้อยู่ระหว่าง 20 - 50 วัตต์ต่อตารางเมตร


พืช
            พืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่ง (มีประมาณ 350,000 สปีชีส์ ถูกระบุแล้ว 287,655 สปีชีส์ เป็นพืชดอก 258,650 ชนิด และพืชไม่มีท่อลำเลียง 18,000 ชนิด ) อยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantea) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์ด้วยแสง นอกจากนี้ยังมีลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชีส์ที่ไม่สังเคราะห์ด้วยแสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น


ดิน หิน ทราย

ดิน
           ดิน(soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลกเกิดจากการแปลงสภาพหรือสลายตัวของหินแร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆเมื่อมีน้ำและอากาศที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้

หิน
           หิน (Rocks) คือมวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกันหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกตนอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนตเนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทรสิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกายแพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือกเมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน

ทราย
           เป็นตัวอย่างหนึ่งของวัสดุจำพวก สสารแบบเม็ด (granular matter) ตามธรรมชาติแล้ว ทรายเกิดจากหินที่ถูกย่อยเป็นเม็ดละเอียด ซึ่งหมายถึงทรายทั่ว ๆ ไปที่เราพบเห็นตามชายหาด แต่อีกความหมายหนึ่งในแง่วิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะทางธรณีวิทยา) แล้ว หมายถึงชื่อขนาดของอนุภาคขนาดเม็ด "ทราย" ที่มีขนาดอนุภาคหรือเม็ดตะกอนระหว่าง 0.0625 ถึง 2 มิลลิเมตร อนุภาคหนึ่ง ๆ ของทรายนั้น เรียกว่า "เม็ดทราย" ขนาดของอนุภาคที่เล็กถัดลงไป เรียกว่า ทรายแป้ง (slit) เป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.0625 มิลลิเมตร จนถึง 0.004 มิลลิเมตร ส่วนขนาดของอนุภาคที่ใหญ่กว่าขนาดอนุภาคของทราย เรียกว่า กรวด (gravel) อนุภาคมีขนาดใหญ่กว่า 2 ถึง 64 มิลลิเมตร (ท่านสามารถศึกษาการแบ่งขนาดของอนุภาคทางธรณีวิทยาได้จาก grain size) เมื่อใช้นิ้วถูเบา ๆ ขนาดอนุภาคทรายนั้นจะให้ความรู้สึกสาก ส่วนอนุภาคทรายแป้งนั้นจะรู้สึกเหมือนนิ้วถูผงแป้ง แต่จะรู้สึกสาก ๆ เพียงเล็กน้อย)

ทักษะ (Skill)
      - ทักษะการคิดวิเคราะห์
      - การคิดร่วมยอด

การประยุกต์ใช้ (Application)
      สามารถนำความรู้ที่ได้มาจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมแก่วัยของเด็กได้ โดยอาจจะจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและพัฒนาการของเด็กกลุ่มนั้นๆ

เทคนิคการสอน (Technical Education)
      - เริ่มสอนจากหลักสูตรและนำเข้าสู่การสรุป
      - การใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ

การประเมิน (Evaluation)
      - เพื่อนและตัวข้าพเจ้า ตั้งเรียน แต่งกายสุขภาพ จดบันทึกระหว่างการเรียน และช่วยกันตอบคำถามภายในชั้นเรียน
      - ครูผู้สอน เข้าสอนเวลา สอนตรงกับหลักสูตรที่นำมาสอน เข้าใจง่าย มีการยกตัวอย่างให้เห็นภาพและเกิดความเข้าใจมากขึ้น 

วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary No.6 | 15 Septembert 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.6


การทำงานของสมอง



            การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย สมองซีกขวา จะควบคุมการทำงานของสมองซีกซ้ายของร่างกาย โดยสมองซีกขวาจะทำงานในในหน้าที่ตามแนวทางที่สร้างสรรค์ จินตนาการทางด้านศิลปะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์ รวมไปถึงการรับรู้สัญชาตญาณและอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งสมองซีกขวาจะสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานพร้อมกันได้ในทันที ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกขวามักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. ศิลปะแขนงต่าง ๆ
2. งานที่เกี่ยวกับอารมณ์ขัน
3. การใช้ภาษาง่าย ๆ ที่ไม่สลับซับซ้อน
4. การศึกษาความคิดในเชิงปรัชญา
5. การจัดสวนหรือปรับแต่งต้นไม้ให้กลมกลืนกับธรรมชาติ
6. ความสารถในงานฝีมือ และงานประดิษฐ์
7. งานที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ จิตรกร การออกแบบ งานประเภทครีเอทีฟโฆษณา
8. รักการอ่าน การเขียนหนังสือ มีความสามารถแต่งแต้มจินตนาการลงในงานเขียนได้เป็นอย่างดี
9. ประเภทศิลปิน ดารา นักแสดง ซึ่งที่มักต้องใช้อารมณ์ความรู้สึกทั้งทางร่างกายและคำพูด
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกขวา คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือซ้าย หรือสามารถทำงานด้วยมือซ้ายได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกขวาเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนขาดระเบียบ การใช้ชีวิตไม่ค่อยมีแบบแผน ขั้นตอน สื่อสารกับคนอื่นไม่ค่อยเข้าใจ
สมองซีกซ้าย จะควบคุมการทำงานของสมองซีกขวาของร่างกาย โดยสมองซีกซ้ายจะควบคุมการแสดงออก และทำหน้าที่ในการคิดอย่างมีสามัญสำนึก เป็นเหตุเป็นผล รวมถึงการวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด การจัดลำดับความสำคัญของข้อมูล ตีความสัญลักษณ์ในภาษา อักษรและตัวเลขได้ดี ซึ่งใน
สมองซีกซ้ายนั้นสามารถสั่งให้กระบวนการต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ทีละอย่าง ความถนัดของคนที่ใช้สมองซีกซ้ายมักสนใจในการทำงาน หรือการรับรู้เป็นพิเศษที่เกี่ยวกับ
1. การพูดโน้มน้าวจิตใจคน
2. การตีความหมายของภาษา
3. การวิเคราะห์เวลาและความเสี่ยง
4. อาชีพที่ต้องใช้การคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลข
5. การจัดหมวดหมู่ การแยกประเภทสินค้าต่าง ๆ
6. ผู้บริหารที่ต้องจัดการวงแผนอย่างมีเหตุผล ระบบขั้นตอน
7. งานที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์
8. นักกีฬาที่ต้องใช้กล้ามเนื้อแขนและขา
9. อาชีพที่ต้องใช้ความแม่นยำสูง เช่น ศัลยกรรมแพทย์ วิศวกร
ลักษณะเฉพาะที่ปรากฏในบุคคลที่ถนัดใช้สมองซีกซ้าย คือ ส่วนมากมักถนัดการเขียนหนังสือด้วยมือขวา หรือสามารถทำงานด้วยมือขวาได้ดี แต่มีสิ่งที่ควรระวังสำหรับการใช้สมองซีกซ้ายเพียงด้านเดียวมากเกินไป อาจเป็นคนที่มีความเครียดสูงอยู่ในตัว เป็นอันตรายต่อสุขภาพได้ โดยปกติคนเราต้องใช้สมองทั้งซีกขวาและซีกซ้าย ส่วนจะใช้ซีกใดมากหรือน้อยกว่ากันจะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ถูกกำหนดโดยบทเรียน สาขา โปรแกรมการเรียน ภาระหน้าที่การงาน อาชีพ วิถีชีวิต และการนันทนาการ เพราะการทำงานของสมองนั้นโดยปกติจะต้องปรับใช้ร่วมกันทั้งสองซีกโดยธรรมชาติอยู่แล้ว ไม่อาจใช้ซีกใดซีกหนึ่งเพียงซีกเดียว โดยละทิ้งไม่ใช้สมองอีกซีกหนึ่ง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถทำงานจากการสั่งการของสมองเพียงซีกเดียวได้
การทำงานของสมองซีกขวา และซีกซ้าย สรุปได้ว่า ความสามารถของสมองทั้งสองซีก เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดการเรียนรู้ กระบวนการที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการพัฒนาสมองทั้งสองซีกของผู้เรียนเป็นหลัก ส่วนความต้องการส่งเสริมหรือปรับเปลี่ยนให้พัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเป็นพิเศษนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะเฉพาะตัวของผู้เรียนคนนั้น ๆ การจัดการเรียนรู้เป็นการพัฒนาศักยภาพทางสมองให้เพิ่มมากขึ้น และยังสามารถช่วยให้ผู้เรียน ครู หรือผู้ปกครองค้นพบความสามรถพิเศษสุด และความพิเศษอื่น ๆ ในตัวของผู้เรียนได้ การจัดการเรียนรู้ระดับคุณภาพ จะส่งผลดีต่อการพัฒนาทางด้านสมองของผู้เรียนอย่างเห็นได้ชัด ปรากฏให้เห็นได้จริง ดังนั้นผู้จัดการเรียนรู้ตั้งแต่ระดับอนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย จะต้องมีความรู้และ ทักษะเข้าใจด้านกระบวนการของสมองทั้งสองซีกที่เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้นั้น ๆ อย่างสอดคล้อง


หลักการและแนวคิดการพัฒนาการเด็ก

1. กีเซลล์ (Gesell )
           กล่าวถึงทฤษฎีพัฒนาการทางร่างกายว่าการเจริญเติบโตของเด็กจะแสดงออก 
เป็นพฤติกรรมด้านต่าง ๆ สำ หรับพัฒนาการทางร่างกายนั้นหมายถึง การที่เด็กแสดงความสามารถในการ
จัดกระทำ กับวัสดุ เช่น การเล่น ลูกบอล การขีดเขียน เด็กต้องใช้ความสามารถของการใช้สายตาและ
กล้ามเนื้อมือ ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ต้องอาศัยการเจริญเติบโตของระบบประสาทและการเคลื่อนไห;ประกอบ กัน ลักษณะพัฒนาการที่สำคัญของเด็กในระยะนี้ ก็คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเคลื่อนไหว การทำ งาน ของระบบประสาทกล้ามเนื้อ การพัฒนาความสามารถในการควบคุมร่างกาย การบังคับส่วนต่าง ๆ ของ ร่างกาย
                แนวคิด :  เด็กจะมีความพร้อมที่จะเรียนต่อเมื่อเด็กพร้อม ซึ่งผู้ใหญ่ไม่สามารถที่จะเร่งเด็กให้พร้อมได้ ความพร้อมในการมาโรงเรียนขึ้นกับวุฒิภาวะซึ่งถือเป็นสภาวะที่เด็กที่มีสุขภาพสมบูรณ์จะสามารถบรรลุ งานนั้นได้ในช่วงวัยนั้น


2. ฟรอยด์ (Freud)
           กล่าวว่า มนุษย์เรามีสัญชาติญาณติดตัวมาแต่กำเนิด และได้แบ่งสัญชาติญาณออกเป็น 2 ชนิดคือ
                  1) สัญชาติญาณเพื่อการดำรงชีวิต (Life instinct)
                  2) สัญชาติญาณเพื่อความตาย (Death instinct)
           สัญชาตญาณบางอย่าง จะถูกเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก ฟรอยด์ได้อธิบายเกี่ยวกับสัญชาตญาณ เพื่อการดำรงชีวิตไว้อย่างละเอียด ได้ตั้งสมมติฐานว่า มนุษย์เรามีพลังงานอยู่ในตัวตั้งแต่เกิด เรียกพลังงานนี้ว่า "Libido” เป็นพลังงานที่ทำให้คนเราอยากมีชีวิตอยู่ อยากสร้างสรรค์ และอยากจะมีความรัก มีแรงขับทางด้านเพศ หรือกามารมณ์ (Sex) เพื่อจุดเป้าหมาย คือความสุขและความพึงพอใจ (Pleasure) โดยมีส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ไวต่อความรู้สึก และได้เรียกส่วนนี้ว่า อีโรจีเนียสโซน (Erogenous Zones) แบ่งออกเป็นส่วนต่างดังนี้
           - ส่วนปาก ช่องปาก (Oral)
           - ส่วนทางทวารหนัก (Anal)
           - และส่วนทางอวัยวะสืบพันธุ์ (Genital Organ)
ฉะนั้น ฟรอยด์กล่าวว่าความพึงพอใจในส่วนต่างๆ ของร่างกายนี้ เป็นไปตามวัย เริ่มตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ขั้น คือ
           1. ขั้นปาก (Oral Stage)
           2. ขั้นทวารหนัก (Anal Stage)
           3. ขั้นอวัยวะเพศ (Phallic Stage)
          4. ขั้นแฝง (Latence Stage)
           5. ขั้นสนใจเพศตรงข้าม (Genital Stage)
           แนวคิด : พัฒนาการเริ่มแรกจากการสำรวจโดยใช้ปากวัยทารก การให้ความสำคัญกับเรื่องการขับถ่าย ในวัยเถาะแตะ และการแบ่งแยกเพศชัดเจนในช่วงวัยอนุบาลมีผลต่อการสร้างบุคลิกภาพ
ขั้นพื้นฐาน (Psychosexual Stage) จะเป็นตัวก่อร่างพื้นฐานในการเข้าใจตนเอง (Self-concept)
ความรู้สึกดี ความภูมิใจในตนเอง (Self-esteem) และ บุคลิกภาพในภายหลัง


3. อีริค อีริคสัน (Erik Erickson)
           แนวคิดแต่ละคนจะมีประสบการณ์กับวิกฤตภายในเชื่อมโยงกับแต่ละขั้นของชีวิต (จิตวิทยาสังคม) 8 ครั้ง ซึ่งในสามขั้นแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดซึ่งเกิดในช่วงปฐมวัย คือ 
           ขั้นที่ 1 การเชื่อใจ-การไม่เชื่อใจ 
           ขั้นที่ 2 การเป็นตัวของตัวเอง-ความละอายใจและความสงสัย 
           ขั้นที่3 การคิดริเริ่ม-การรู้สึกผิด


4. เพียเจต์ (Piaget)
           ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญา ซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่า สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพียเจต์เน้นความสำคัญของการเข้าใจธรรมชาติและพัฒนาการของเด็กมากกว่าการกระตุ้นเด็กให้มีพัฒนาการเร็วขึ้น เพียเจต์สรุปว่า พัฒนาการของเด็กสามารถอธิบายได้โดยลำดับระยะพัฒนาทางชีววิทยาที่คงที่ แสดงให้ปรากฏโดยปฏิสัมพันธ์ของเด็กกับสิ่งแวดล้อม


5. บรุนเนอร์ (Brunner)
           บรุนเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นพบด้วยตัวเอง (discovery learning)
            แนวคิด 
           1. การจัดโครงสร้างของความรู้ให้มีความสัมพันธ์ และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก มีผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก
           2. การจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับระดับความพร้อมของผู้เรียน และสอดคล้องกับพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียนจะช่วยให้การเรียนรู้เกิดประสิทธิภาพ
          3. การคิดแบบหยั่งรู้ (intuition) เป็นการคิดหาเหตุผลอย่างอิสระที่สามารถช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้
           4. แรงจูงใจภายในเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
           5. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์แบ่งได้เป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ คือ
                  1.) ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาท  สัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
                  2.) ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
                  3.) ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
           6. การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากการที่คนเราสามารถสร้างความคิดรวบยอด หรือสามารถจัดประเภทของสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
           7. การเรียนรู้ที่ได้ผลดีที่สุด คือ การให้ผู้เรียนค้นพบการเรียนรู้ด้วยตนเอง (discovery learning)


6. แพทย์หญิง มาเรีย มอนเตสซอรี่ ( Maria Montessori)
           มีการพัฒนามาจากพื้นฐานที่แพทย์หญิง มาเรียสังเกตว่าเด็กๆเรียนรู้ "อย่างเป็นธรรมชาติ" ด้วยตนเองและไม่จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ แต่ประการใดเด็กๆ สามารถสอนกันเองอย่างเป็นธรรมชาติ
           แนวคิด
           เด็กซึมซับวัฒนธรรม ทั้งจากการรับฟังและจากการมีประสบการณ์ที่ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม โดยตรง การพัฒนากล้ามเนื้อมัดใหญ่และกล้ามเนื้อมัดเล็กมีการพัฒนาแบบเป็นคู่ขนานกัน
ขาทำงานสำหรับการเคลื่อนที่และทรงตัวแต่มือจะเปลี่ยนเป็นการทำงานเพื่อสื่อความคิดความรู้สึก
และปัญญา จากการกำไปสู่การที่นิ้วทั้งสี่เป็นอิสระต่อกัน “มือคือ เส้นทางไปสู่การเรียนรู้
หรือ มือคือครูที่สำคัญ”


7. จอห์น ดิวอี้ (John Dewey)
           เขามีบทบาทสำคัญในการบุกเบิกแนวคิดและวิธีการสอนแบบใหม่ๆ ทั้งยังได้สร้างโรงเรียนสาธิตขึ้น เพื่อใช้สำหรับทดสอบพัฒนาและวิเคราะห์ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนการสอนและที่สำคัญ ยังถือได้ว่าเขาเป็นนักปรัชญาทางการศึกษาแนวหน้าของโลก โดยมีปรัชญามากมายซึ่งเกี่ยวข้องกับการศึกษาที่แตกแขนงออกไปอย่างมากมาย
           แนวคิด การเรียนรู้จากการกระทำ (Learning by Doing) ที่ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางจากการทำจริงในทุกกสถานการณ์จริง


8. โจฮัน ไฮน์ริช เปสตาลอสซี (Johann Heinrich Pestalozzi)
           ปสตาลอซซี่ได้รับอิทธิพลด้านความคิด
           แนวคิดเชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรการเรียนการสอน เปสตาลอซซี่มุ่งเน้น ความคิดของการจัดหลักสูตรแบบบูรณาการ (integrated curriculum) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาเด็ก อย่างเป็นองค์รวม เปสตาลอซซี่กล่าวว่าการจัดการศึกษาให้แก่เด็กควรรวมถึงการพัฒนาร่างกาย
สติปัญญา และจิตใจ มีแนวคิดจากรุสโซตรงที่มุ่งเน้นการสอนเด็กเป็นกลุ่มมากกว่าการสอนเด็กเป็นรายบุคคล นอกจากนั้น เปสตาลอซซี่ยังเป็นต้นความคิดในเรื่องการเตรียมความพร้อม และเห็นว่าเด็กไม่ควร ถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ แต่ต้องให้เวลาและประสบการณ์แก่เด็กในการทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ
รอบตนเอง
เปสตาลอสซี่ได้เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อเน้นความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่
และลูก เช่น “เกอร์ทรูดสอนลูกอย่างไร” (How Gertrude Teaches Her Children) และ “หนังสือสำหรับแม่”(Books for Mothers) และได้ออกแบบหลักสูตรชื่อ“ปาปา”(Papa) สำหรับลูกของตน ซึ่งจะให้คำแนะนำแก่พ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก


ความหมายของวิทยาศาสตร์
           วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ และกระบวนการค้นคว้าหาความรู้อย่างเป็นระบบและมีขั้นตอน การศึกษาความ เป็นไปทางธรรมชาติ โดยใช้กระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ วิทยาศาสตร์เป็นวิชาที่มีการค้นคว้าอย่างมีระบบ แบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การ ทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริง

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
           1. การเปลี่ยนแปลง (change) ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นครูควรให้เด็กเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง ของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้้าหนัก การเคลื่อนต้าแหน่ง น้้าขึ้นน้้าลง และสิ่งอื่นๆ ที่อยู่รอบตัวเด็ก
           2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของ สิ่งต่างๆ เหล่านั้น โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัว
           3. การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึง ควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่ รอบตัวเอง เช่น ตุ๊กแก คางคก งู สัตว์น้้า พืช จิ้งจก จะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ ฯลฯ สิ่งไหนที่ปรับตัวไม่ได้ก็ สูญพันธ์ไป
           4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Maturity) ทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องมีการพึ่งพาอาศัยกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย แมลงกับดอกไม้ ดังนั้น ครูจึงควรให้ เด็กเห็นธรรมชาติ เพื่อให้สามารถปรับตัวได้
           5. ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและ ปรับตัวให้ได้ดุล และมีความผสมกลมกลืน เช่น ปลาอยู่ใน น้้า นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก ฯลฯ เด็กควรมี ความเข้าใจถึงธรรมชาติ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 
           1. ความอยากรู้อยากเห็น 
           2. ความเพียรพยายาม 
           3. ความมีเหตุผล 
           4. ความซื่อสัตย์ 
           5. ความมีระเบียบและรอบคอบ
           6. ความใจกว้าง

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย
            1. ช่วยพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย 
            2. ช่วยส่งเสริมประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางยิ่งขึ้น 
            3. ช่วยให้เด็กประสบกับความส าเร็จในการเรียน 
            4. ช่วยสนองตอบต่อความต้องการของเด็กเป็น รายบุคคล
            5. ช่วยพัฒนาทักษะทางด้านการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย 
            6. ช่วยให้เด็กรู้จักปฏิบัติให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม 
            7. ช่วยให้เด็กรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์ต่อเด็กปฐมวัย 
           1. ช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
           2. เด็กได้รับประสบการณ์ตรงในชีวิต
           3. พัฒนาความคิดรวบยอดพื้นฐาน
           4. เพิ่มพูนทักษะการสังเกต
           5. เด็กได้มีโอกาสใช้เครื่องมือและวัสดุที่เคยพบเห็น
           6. รู้จักการแก้ปัญหาโดยครูเป็นผู้ช่วย 
           7. เพิ่มพูนความรู้พื้นฐานจากการได้สืบค้น 
           8. พัฒนาประสาทสัมผัส ร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม 
           9. พัฒนาด้านภาษาจากการซักถามและตอบค้าถามท้า ให้เพิ่มพูนค้าศัพท์

กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการสืบเสาะหาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ 
           1. การสำรวจตรวจสอบ (Scientific investigation) 
           2. การสังเกต (Observation) 
           3. การสำรวจ (Exploration) 
           4. การทดลอง (Experimentation) 
           5. การสืบค้นข้อมูล (Search)

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Science process skills) 
           1. ทักษะการสังเกต (Observing) หมายถึง การใช้ ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่าง รวมกัน เข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์ เพื่อค้นหาข้อมูล
           2. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) หมายถึงการเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้จาก การสังเกตอย่างมีเหตุผล
           3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying) หมายถึง การแบ่งพวกหรือ เรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่มีอยู่ใน ปรากฏการณ์โดยมีกฎเกณฑ์
           4. ทักษะการพยากรณ์ (Predicting) หมายถึง การคาดคะเนค้าตอบล่วงหน้าก่อนจะทดลอง
           5. ทักษะการวัด (Measure) หมายถึง การเลือกและใช้ เครื่องมือ ท้าการวัดหาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมา เป็นค่าที่แน่นอน
           6. ทักษะการค านวณ (Using Numbers) หมายถึง การนับ จ้านวนของวัตถุ และการน้าค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกัน
           7. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา(Using Space/Time Relationships) หมายถึงการหาความสัมพันธ์ ระหว่างมิติของวัตถุ ระหว่างต้าแหน่งที่อยู่ของวัตถุ
           8. ทักษะการจัดกระท าและสื่อความหมายข้อมูล (Organizing Data and Communicating) หมายถึง การน้าข้อมูลมาจัดกระท้าเสียใหม่ และน้าเสนอ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจ


ทักษะ (Skill)
      - ทักษะการคิดวิเคราะห์แยกแยะ
      - ทักษะในการตอบคำถาม

ประยุกต์ใช้ (Application)
      สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวิชานี้ ไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดให้สอดคล้องกับความต้องการและัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย

เทคนิคการสอน (Technical Education)
      - การตอบคำถามและตั้งคำถาม
      - ทักษะในการนำเสนองาน
      - สอนหลักกการที่ถูกวิธีและการนำไปประยุกต์ใช้

การประเมิน (Evaluation)
      - ตั้งใจเรียน มีการจดบันทึก และแต่งกายสุขภาพ
      - เพื่อนๆให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม และช่วยเหลือกันระหว่างเรียนได้ดี
      - ครูผู้สอน เข้าสอนตรงเวลา สอนตรงกับเนื้อหาที่เรียน ชี้แจงนักศึกษาถึงรายละเอียดของแต่ละเนื้อหาจนกว่านักศึกษาจะเข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No.5 | 08 Septembert 2015 (13.30-17.30 pm.) Group. 102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.5




พับกระดาษ 1 แผ่น เสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์


 - อาจารย์ให้นักศึกษาพับกระดาษ 1 แผ่น เป็นอะไรก็ได้ ที่เสริมสร้างทักษะทางวิทยาศาสตร์

ดิฉันจึงพับ โทรโข่ง





              โทรโข่ง คือเครื่องมือสำหรับส่งเสียงพูดของบุคคลให้ไปยังทิศทางของเป้าหมาย ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกรวยและสามารถถือติดตัวได้สะดวก ด้วยเหตุที่ว่าเสียงพูดของมนุษย์กระจายไปในทุกทิศทางในอากาศ จึงต้องส่งเสียงด้วยโทรโข่งเพื่อบังคับให้เสียงถูกส่งไปยังเป้าหมายให้ผู้ฟังได้ยินชัดเจนขึ้น โดยคลื่นเสียงในอากาศจะแทรกสอดกันภายในกรวยทำให้เสียงก้องขึ้น โทรโข่งบางชนิดเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยไมโครโฟน เครื่องขยายเสียง และลำโพง สามารถขยายเสียงพูดให้ดังขึ้นได้ หรือใช้ติดตั้งบนที่สูงสำหรับการกระจายเสียงในที่ชุมชน


ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์


         พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
       2.1 ขั้นก่อนเกิดสังกัป เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี
       2.2 ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี 
       2.3 ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี
       2.4 ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี


บรรยากาศภายในห้องเรียน (Classroom Atmosphere)
- สบายๆ ไม่กดดัน



ประเมินตัวเอง (Self - Assessment)
- ตั้งใจเรียน จดบันทึกระหว่างเรียน
- ฟังคำสั่งและคำชี้แนะอยู่เสมอ


ประเมินเพื่อน (Friend - Assessment)
- เพื่อนๆทำกิจกรรมกันอย่างมีความคิดสร้างสรรค์
- ให้ความร่วมมือในการตอบคำถามได้ดี
- เพื่อนทุกๆคนตั้งใจเรียน และจดบันทึกระหว่างเรียนอยู่เสมอๆ


ประเมินครู (Teacher - Assessment)
- อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา สอนเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์ จากการพับกระดาษ เพื่อเป็นทักษะในทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและเห็นภาพตามคำบรรยาย มีการเตรียมความพร้อมในการสอนมาอย่างดี

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

Diary No.4 | 01 Septembert 2015 (13.30-17.30 pm.) Group.102

Science Experiences Management for Early Childhood

Diary Note No.4




เข้าร่วมโครงการศึกษาศาสตร์วิชาการ "ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21"






          ศตวรรษที่ 21 สถานการณ์โลกมีความแตกต่างจากศตวรรษที่ 20 และ 19 ระบบการศึกษา ต้องมีการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะความเป็นจริง

          ในประเทศสหรัฐอเมริกาแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยภาคส่วนที่เกิดจากวงการนอกการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21




          หน่วยงานเหล่านี้มีความกังวลและเห็นความจำเป็นที่เยาวชนจะต้องมีทักษะสำหรับการออกไปดำรงชีวิตในโลกแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เปลี่ยนไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 จึงได้พัฒนาวิสัยทัศน์และกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21ขึ้น สามารถสรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R และ 4Cซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้
3 R ได้แก่ Reading (การอ่าน), การเขียน(Writing) และ คณิตศาสตร์ (Arithmetic) และ
4 C (Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์, Communication- การสื่อสาร Collaboration-การร่วมมือ และ Creativity-ความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงทักษะชีวิตและอาชีพ และทักษะด้านสารสนเทศสื่อและเทคโนโลยี และการบริหารจัดการด้านการศึกษาแบบใหม่ 



          แนวคิดทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 คืออย่างไร และคุณลักษณะที่เด็กและเยาวชนพึงมีในโลกยุคใหม่คืออย่างไร คลิกเพื่ออ่านต่อและดาวน์โหลดเอกสารที่นี่

          นอกจากนี้ยังมีนักการศึกษาอีกท่านหนึ่งที่มีส่วนสำคัญในการผลักดันเรื่องการฎิรูปการเรียนรู้ดังกล่าวให้กว้างขวางขึ้น คือเซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นยำ้ถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้ากับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป ชมแอนิเมชั่นด้านบน การเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21 (Changing Education Paradigms)โดย เซอร์เคน โรบินสัน




ภาพการเข้าร่วมชมนิทรรศการ